Author: Alone

สาเหตุ และการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว

สาเหตุ และการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว

สาเหตุ และการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว โรคเหี่ยวเขียว เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซิเอรัม (Ralstonia solanacearum) ซึ่งโรคใบเหี่ยวเขียวจะสร้างความเสียหายให้ต้นพืชอย่างมากมาย และในปัจจุบันนี้จะพบว่าโรคเหี่ยวเขียวมีการระบาดไปเกือบทั่วโลกแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนอย่างทวีปเอเชียนั่นเอง เพราะเหตุนี้เราจึงจะมาแนะนำการป้องกันโรคใบเขียวซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

สาเหตุ และการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว
ขอบคุณภาพจากคาสิโนออนไลน์ และบาคาร่า

สาเหตุ และอาการของโรคเหี่ยวเขียว

โรคเหี่ยวเขียว เกิดจากแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซิเอรัม (Ralstonia solanacearum) ซึ่งต้นพืชที่เกิดโรคใบเหี่ยวเขียวจะแสดงอาการเหี่ยวโดยเริ่มจากใบ ต่อมาจะมีอาการเหี่ยวมากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการใบเหลืองเกิดขึ้น ซึ่งพืชจะแสดงใบเหี่ยวในเวลากลางวัน และฟื้นใหม่ในเวลากลางคืน ในที่สุดจะเหี่ยวทั้งต้นภายในเวลาไม่กี่วัน

การป้องกันโรคเหี่ยวเขียว

การป้องกันโรคใบเหี่ยวเขียวที่เกิดจากแบคทีเรียควรจะปฏิบัติตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะปลูกไปจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และควรจะใช้วิธีการผสมผสานจึงจะสามารถป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบเหี่ยวเขียวได้

1. พื้นที่ที่เคยพบว่ามีการระบาดของโรคเหี่ยวเขียวควรปลูกพืชหมุนเวียน หรือไถตากแดด 2 – ครั้ง ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคลงได้ ส่วนมากการปล่อยดินตากแดดไว้เฉย ๆ โดยไม่ไถดินนั้นปริมาณเชื้อในดินจะลดลงน้อยมาก ถ้าปล่อยพื้นดินทิ้งไว้แล้วมีวัชพืชปกคลุมแทบไม่ได้ช่วยลดปริมาณเชื้อในดินเลย

2. กำจัดวัชพืชในแปลงก่อนปลูกเป็นเวลา 3 เดือน สำหรับแปลงที่พบโรคระบาดนี้ ควรจะไถดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ผึ่งให้แห้งก่อนปลูกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อกัดเชื้อราที่อาจจะอาศัยอยู่ในวัชพืช และดิน

3. ในแปลงที่เคยทราบว่ามีการระบาดของโรคควรฆ่าเชื้อโรคด้วยยูเรีย + ปูนขาว ในอัตรา 80 + 800 กิโลกรัมต่อไร่ก่อนปลูก

สาเหตุ และการป้องกันโรคเหี่ยวเขียว เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับสาเหตุ และการป้องกันโรคใบเขียวที่เราได้นำมาแนะนำกันในวันนี้ ซึ่งโรคใบเหี่ยวเขียวเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ถ้าเราไม่อยากให้พืชของเราเป็นโรคใบเหี่ยวเขียว เราต้องป้องกันโรคใบเหี่ยวเขียวตามวิธีที่แนะนำเลยนะคะ

สนใจสารควบคุมโรคพืชหลายชนิด ฟาร์มเมอร์มีฝาแดง

สนใจอ่านบทความต่อไป

เรื่อง โรคของผักสลัด ป้องกันให้ถูกวิธี

เรื่อง ปัญหาต้นไม้ใบเหลือง และเทคนิคการรักษาอาการต้นไม้ใบเหลือง

ปลูกกะเพรา ไว้กินเองในบ้าน ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก

ปลูกกะเพรา ไว้กินเองในบ้าน ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก

ปลูกกะเพรา ไว้กินเองในบ้าน ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก กระเพราเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหาร และเป็นผักที่สามารถปลูกไว้กินเองได้ และยังมีวิธีการปลูก การดูแลที่ไม่ยุ่งยากอีกด้วย วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีปลูกกะเพราไว้กินเองในบ้าง ซึ่งจะมีวิธีไหนบ้างนั้นไปดูกันเลย

ปลูกกะเพรา ไว้กินเองในบ้าน

วิธีการปลูกกะเพรา

1. เตรียมดินที่ละเอียดเทลงในกระถาง

2. หว่านเมล็ดกะเพราให้ทั่ว จากนั้นใช้ฟางกลบ หรือใช้ปุ๋ยคอยโดยทับบาง ๆ

3. ให้รดตามทันที ซึ่งการรดน้ำนั้นควรจะใช้ฝักบัวที่มีรูเล็ก ๆ

4. รอประมาณ 7 วัน เมล็ดจะค่อย ๆ งอกเป็นต้นกล้า

5. รอจนต้นกล้าอายุครบ 1 เดือน แล้วค่อย ๆ ถอนแยก และจัดระยะต้นให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร

6. รอให้ต้นกล้าโต พอต้นกล้าโตเต็มที่แล้วเราก็สามารถเก็บมาประกอบอาหารได้

การดูแลต้นกระเพรา

ให้ลดน้ำเช้า – เย็น อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นกะเพราเติบโตตามธรรมชาติ แต่การรดน้ำนั้นไม่จำเป็นต้องรดบ่อย ๆ ก็ได้ เพราะกะเพราเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ไม่ต้องดูแลอะไรให้ยุ่งยากเลย

ประโยชน์ของกะเพรา

1. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันหวัด

2. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน

3. ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้อาการจุกเสียดและแน่นทอง

4. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และช่วยฆ่าจุลินทรีย์บางชนิด

5. ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์

6. ช่วยลดระดับไขมันในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน

ปลูกกะเพรา ไว้กินเองในบ้าน ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก เป็นยังไงกันบ้างคะ กับวิธีการปลูกกะเพราที่เรานำมาแนะนำในวันนี้ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนมีเวลาว่างก็ลองหาเมล็ดกะเพรามาเพาะปลูก เพื่อจะได้นำไปประกอบอาหารนะคะ เพราะกะเพรามีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันหวัด, แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร

สนใจผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง น้ำส้มควันไม้ เกรดพรีเมี่ยม ฟาร์มเมอร์มีฝาทอง

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

อ่านบทความ เรื่อง วิธีการปลูกฟักทอง แบบง่าย ๆ
อ่านบทความ เรื่อง น้ำส้มควันไม้ สารกำจัดศัตรูพืชชั้นเลิศ

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ช่วงเวลาที่ปลูกแล้วได้ผลดีที่สุด คือ ช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนเมษายน ซึ่งการปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลงจะช่วยลดขั้นตอนการปลูก เพราะการปลูกแบบหว่านเมล็ดจะไม่ได้ย้ายต้นกล้า และจะช่วยให้ผักคะน้าเจริญเติบโตเร็ว และสามารถเก็บผลผลิตขายได้หลายช่วง

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง มีวิธีการปลูกดังนี้

การเตรียมดิน
การเตรียมดิน ให้ไถพรวนดินพลิกตากแดดไว้ 7-14 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน ต่อ 1 ไร่ และไถพรวนอีกครั้ง เพื่อให้ดินและปุ๋ยคอกเข้ากัน จากนั้นทำการไถร่องทำเป็นแปลงปลูก

การหว่างเมล็ด

1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั้งแปลง โดยกะระยะในการหว่านให้ห่างกัน 2-3 เซนติเมตร

2. ใช้ดินผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดที่หว่านเสร็จแล้ว ให้มีความหนา 1 เซนติเมตร

3. คลุมด้วยฟาง แต่ต้องคลุมบาง ๆ

4. รดน้ำให้ทั่ว เช้า – เย็น อย่างสม่ำเสมอ

5. เมื่อผักคะน้างอกได้ได้ 20 วัน ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก

6. เมื่อผักคะน้ามีอายุ 30 วัน ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกอีกครั้ง

7. ในการถอนผักคะน้าที่ไม่สมบูรณ์แต่ครั้งควรที่จะถอนวัชพืชออกด้วย และควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อจะทำให้ผักคะน้าเจริญเติบโตและแข็งแรง

การให้น้ำ
การให้น้ำ เนื่องจากผักคะน้ามีการเจริญเติบโตเร็ว ดังนั้นควรที่ปลูกผักคะน้าในที่ที่มีแหล่งน้ำที่เพียงพอและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ผักคะน้าเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลง ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการปลูกผักคะน้าด้วยการหว่านเมล็ดลงแปลงมีข้อดีคือไม่ต้องย้ายต้นกล้า แต่เราก็ต้องถอนผักคะน้าที่ไม่แข็งแรงออก และรดน้ำให้สม่ำเสมอจะทำให้ผักคะน้าของเราเจริญเติบโตและแข็งแรง

สนใจสินค้าทางการเกษตร คลิก
อ่านบทความ เรื่อง การดูแลและให้ธาตุอาหารผักไฮโดรโปนิกส์
อ่านบทความต่อไป เรื่อง วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน ผักสลัดเป็นผักที่นิยมรับประทานมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยในการขับถ่าย ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ซึ่งผักสลัดเป็นผักที่ปลูกง่าย และสามารถปลูกภายในบ้านได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน

ก่อนที่เราจะปลูกผักสลัด เราต้องรู้ก่อนว่าผักสลัดมีกี่ประเภท ซึ่งผักสลัดมีหลายประเภท เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนโบว์ มิซูน่า เรดคอส บัตเตอร์เฮด เรดโบ กรีนคอส และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งดินที่เหมาะสมกับการปลูกผักสลัดจะเป็นดินที่ร่วนซุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และพื้นที่ปลูกต้องโล่งเพื่อที่ผักสลัดจะได้รับแสงแดด ซึ่งวิธีการปลูกสลัดมีดังนี้

1. เตรียมดิน โดยส่วนใหญ่ผักสลัดสามารถปลูกได้หลายแบบ เช่น ปลูกในกระถาง ปลูกในถุงดิน และปลูกในแปลงก็ได้ โดนเริ่มจากการเตรียมดิน คือ การนำดินร่วนมาผสมกับปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าวที่ผสมในอัตรา 1 : 1 จากนั้นลดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ในร่มเป็นเวลา 7 วัน

2. ใช้เมล็ดที่สมบูรณ์ นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาปลูก ซึ่งจะหาได้จากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ หรือ ซื้อตามร้านค้าออนไลน์ แล้วนำมาปลูกลงในกระถาง

3. การรดน้ำ รดน้ำพอให้ชุ่มระวังอย่าให้แฉะมากเกินไป

4. การย้ายต้นกล้า เมื่อต้นอ่อนงอกให้ย้ายต้นอ่อนไปปลูกที่กระถางใหญ่

5. การเก็บเกี่ยว เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากเพาะเมล็ด ภายใน 40 – 45 วัน

วิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ภายในบ้าน ผักสลัดไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดในเรื่องของค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นช่วยในการขับถ่าย ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และช่วยล้างสารพิษในร่างกาย และเรายังสามารถปลูกผักสลัดเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย


สนใจสินค้าทางการเกษตร คลิก
อ่านบทความ เรื่อง ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก คอนโดก็ปลูกได้
อ่านบทความต่อไป เรื่อง 4 เครื่องมือทางการเกษตรที่ใช้ในการทำสวน

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี การปลูกพืชแต่ละชนิดบางครั้งเราก็อยากจะให้มันโตเร็ว ๆ เพื่อที่เราจะได้นำผลผลิตส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ แต่พืชบางชนิดก็จะโตช้า บางครั้งอาจจะโดยโรคพืชทำลายจนผลผลิตเสียหาย เกษตรกรบางรายที่ทดลองปลูกพืช ทำสวน แต่ได้ผลผลิตโตไม่ทันใจ วันนี้เรามี 5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี ซึ่งจะมีเคล็ดลับอะไรบ้างไปปดูกันเลย

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

1. เตรียมดินในการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพืชชนิดต่าง ๆ
เตรียมดินในการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพืชชนิดต่าง ๆ ถ้าเราอยากให้พืชที่เราปลูกโตเร็วเราก็ควรที่จะเลือกดินที่สะอาด เราต้องเช็คว่าดินที่นำมาปลูกเหมาะสมกับพืชของเราหรือไม่ สภาพแวดล้อมเข้าไปดูแลได้ไหม แสงแดดเพียงพอไหม เราควรจะปรับหน้าดินก่อนรึเปล่า หรือเราอาจจะทำการปรุงดินเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้กับดิน และยังเติมแร่ธาตุสารอาหารให้ดินดี

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

2. การเตรียมต้นกล้าเพื่อเพาะปลูก
การเตรียมต้นกล้าเพื่อเพาะปลูก เมื่อเราเตรียมดินแล้ว ต่อไปเราก็จะทำการจัดเตรียมต้นกล้า เราควรเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์และแข็งแรง ไม่ติดโรค รากมีความแข็งแรง เพราะถ้าเราเลือกต้นกล้าที่ไม่แข็งแรง จะทำให้พืชของเราโตช้า และออกผลช้าด้วย

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

3. การจัดวางระบบน้ำและแสงแดด
การจัดวางระบบน้ำและแสงแดด น้ำและแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้พืชเจริญเติบโต เพราะถ้าพืชขาดน้ำและแสงแดดจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า และให้ผลผลิตลดลง แต่การที่ให้น้ำมากเกินไปก็จะทำให้รากของพืชเน่า เพราะฉะนั้น เราต้องให้น้ำพืชอย่างสม่ำเสมอ ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี

4. อาหารเสริมช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช
อาหารเสริมช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เราอาจจะไม่รู้ว่าพืชที่เราปลูกต้องการอาหารเสริม เพื่อจะช่วยทำให้ผลผลิตสมบูรณ์ และจะช่วยเสริมอาหารที่ขาดไป ซึ่งจะทำให้พืชแข็งแรงมากขึ้น และจะเร่งอัตราในการเติบโตของพืชด้วย

5. การป้องกันโรคพืช
การป้องกันโรคพืช จะทำให้พืชของเราไม่เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคใบด่าง ใบไหม้ ใบจุด ใบเหี่ยว และเกิดเชื้อรา หรือโรคที่เป็นอันตรายต่อพืช รวมไปถึงการป้องกันแมลงที่จะมาทำลายพืช หากเราใส่ใจในส่วนนี้พืชของเราก็จะเจริญเติบโต และได้ผลผลิตที่สมบูรณ์

5 เทคนิค ปลูกพืชผักอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะการที่เรานำเคล็ดลับไปปรับใช้กับการปลูกของเราจะทำให้พืชของเราเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตเร็วทันใจต่อความต้องการของเราด้วย

อ่านบทความ เรื่อง ปฏิทินปลูกผัก ปลูกแบบนี้มีผักสดกินได้ทั้งปี
อ่านบทความต่อไป เรื่อง วิธีป้องกันและกำจัด “โรคกุ้งแห้งในพริก”

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา แตงกวาเป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง มะระ บวบ น้ำเต้า ซึ่งแตงกวามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อนำไปประกอบอาหาร แตงกวาจะมีอายุตั้งแต่ตอนปลูกจนถึงตอนเก็บเกี่ยวประมาณ 40 – 60 วัน ซึ่งแตงกวาสามารถนำไปประกอบอาหารและยังมีประโยชน์หลายอย่างอีกด้วย

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา

1. แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน ซึ่งจะช่วยต้านการอับเสบ ลดอาการปวดข้อ และสามารถต้านวัณโรคได้ และการดื่มน้ำแตงกวาเป็นประจำจะช่วยบำรุงเล็บ บำรุงเส้นผม และบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี

2. แตงกวาจะช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็ก และมดลูกให้หดตัว และยังสามารถต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ด้วย

3. เส้นใยของแตงกวาจะช่วยระงับคอเลสเตอรอล และให้พลังงานต่ำ เหมาะสำสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนัก

4. แตงกวาช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยคั้นน้ำแตงกวาจากนั้นนำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง จะช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้น

5. แตงกวาช่วยลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสดชื่น และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกายอีกด้วย

6. แตงกวาช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และระบบไหลเวียนเลือด

7. แตงกวาช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย และรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

8. แตงกวาจะช่วยป้องกันอาการท้องผูก และช่วยในการขับถ่าย

9. แตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ

10. แตงกวาช่วยลดอาการบวมน้ำ

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา แตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยม ซึ่งนิยมนำมารับประทานกับอาหารชนิดต่าง ๆ เพราะแตงกวาเป็นผักที่มีน้ำมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นการป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความร้อนในร่างกาย และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

สนใจสินค้าของฟาร์มเมอร์มี
อ่านบทความ เรื่อง ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช เกษตรกรควรรู้
อ่านบทความต่อไป เรื่อง การใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนกับดอกดาวเรือง

รู้จักกับ โรคใบจุด น่ากลัวมาก ๆ

รู้จักกับ โรคใบจุด น่ากลัวมาก ๆ

รู้จักกับ โรคใบจุด น่ากลัวมาก ๆ โรคใบจุดเกิดจากเชื้อ Alternaria (Alternaria leaf spot) ซึ่งเป็นเชื้อราที่กำลังระบาดมากที่สุด เชื้อ Alternaria จะก่อให้เกิดโรคพืชต่าง ๆ มากมายหลายชนิดโดยเฉพาะกับผัก อาการของโรคใบจุดจะเกิดขึ้นทุกส่วนของต้นผัก และจะเกิดขึ้นทุกระยะของการเจริญเติบโตตั้งแต่ต้นอ่อนไปจนถึงต้นแก่ ซึ่งโรคใบจุดจะทำให้พืชของเราเจริญเติบโตช้า ให้ผลไม่เต็มที่

อาการโรคใบจุด

1. โรคใบจุดในคะน้า
อาการของโรคใบจุดในคะน้า ต้นคะน้าแก่จะเกิดแผลจุดขึ้นบนใบ ซึ่งจะเริ่มจากจุดเซลล์เล็ก ๆ สีเหลือง ต่อมาจะค่อย ๆ ขยายโตขึ้นเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่อแผลแห้งก็จะเกิดจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลเข้มขึ้นเป็นวงกลมเรียงกันเป็นชั้น ๆ

รู้จักกับ โรคใบจุด

2. โรคใบจุดในกล้วยไม้ อาการของโรคใบจุดในกล้วยไม้ เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรี และมีตุ่มนูนสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อนเกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง

รู้จักกับ โรคใบจุด

3. โรคใบจุดในดาวเรือง
อาการของโรคใบจุดในดาวเรือง เกิดจาดเชื้อรา Alternaria sp ใบจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ แผลจะเริ่มขยายใหญ่ หรือจุดสีน้ำตาลรวมกันมักจะเห็นตรงกลางเป็นสีขาว ถ้าเราใช้แว่นขยายจะเห็นสปอร์ของเชื้อรารุนแรงมากขึ้น ถ้ามีหนอนเข้ามาชอนที่ใบอาการของโรคก็จะรุนแรงขึ้นและจะลุกลามไปที่ดอก

รู้จักกับ โรคใบจุด น่ากลัวมาก ๆ เป็นยังไงกันบ้างคะ กับอาการของโรคใบจุด โรคใบจุดสามารถเกิดได้กับพืชหลายชนิด และระบาดเร็วมาก ถ้าเราไม่รีบป้องกันพืชของเราก็จะเจริญเติบโตช้า และให้ผลไม่เต็มที่

สนใจ สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ฟาร์มมีฝาแดง <<คลิ๊ก>>
อ่านบทความ เรื่อง มาทำความรู้จักกับ โรคใบจุด (Alternaria leaf spot) น่ากลัวสุดๆ แต่รักษาได้
สนในอ่านบทความ เรื่อง น้ำส้มควันไม้ กับประโยชน์ด้านต่าง ๆ

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน หน้าฝนที่มาพร้อมกับความชุ่มฉ่ำแล้วยังมาพร้อมกับโรคพืชและเชื้อราอีกด้วย เกษตรกรที่กำลังปลูกพืชควรจะมีการวางแผนเพื่อป้องกันโรคพืชที่จะตามมา ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชได้มากที่สุด ถ้าฝนตกติดต่อกันมากกว่า 2 – 3 วัน พืชจะเกิดเชื้อราได้ง่ายและราจะระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื้อราจะเข้าไปทำลายพืชทั้งทางแผลช่องเปิดธรรมชาติ และทำลายเนื้อเยื่อพืชส่งผลให้พืชเป็นโรค

1. โรคเน่าคอดิน

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน
โรคเน่าคอดิน

โรคเน่าคอดิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในแปลงต้นกล้าเนื่องจากเราหว่านเมล็ดหนาแน่นเกินไป ทำให้พืชที่เกิดเบียดกันซึ่งพืชที่เบียดกันมากเกินจะเกิดแผลทำให้ต้นพืชเน่าและแห้ง ถ้าถูกแสงแดดจะทำให้ต้นพืชหักแล้วในที่สุดต้นพืชก็จะตาย ซึ่งสาเหตุของโรคเน่าคอดินเกิดจากเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด หรืออาจเกิดจากน้ำ , ฝน และโรคเน่าคอดินจะพบบ่อยในฤดูฝน

2. โรคราน้ำค้าง

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน
โรคราน้ำค้าง

โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับใบไม้จะมีลักษณะเป็นจุดสีดำอยู่รวมกันเป็นจุดเล็ก ๆ จุดพวกนี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนเหมือนกับแป้งที่เป็นกลุ่ม ๆ และมีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามปยังไปที่อยู่กว่าและใบที่เป็นราจะมีใบสีเหลืองและแห้ง ซึ่งการระบาดของโรคราน้ำค้างจะระบาดได้ตั้งแต่ตอนที่พืชเป็นต้นกล้าจนพืชโตเต็มที่ ซึ่งโรคราน้ำค้างจะสร้างความเสียหายมากเพราะทำให้ใบเสียเจริญเติบโตช้า

3. โรคใบจุด

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน
โรคใบจุด

โรคใบจุด เป็นโรคที่พบในต้นกล้าซึ่งต้นกล้าจะเป็นจุดแผลเล็ก ๆ สีน้ำตาลบริเวณใบ และ โคนต้น ถ้าเป็นต้นโตแล้วใบมีแผลเป็นวงกลมสีน้ำตาลพร้อมกันหลาย ๆ ชั้น ส่วนเนื้อเยื่อรอบ ๆ แผลจะเป็นสีเหลืองบนแผลจะมีราบาง ๆ เป็นผงสีดำพืชผักบางชนิดจะมีแผลที่ก้านใบเล็ก เป็นจุดสีน้ำตาลปนดำ

4. โรคใบเหี่ยว

โรคใบเหี่ยว

โรคใบเหี่ยว เกิดจากอาการเหี่ยวไปอย่างช้า ๆ แล้วใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วงแล้วถ้านาน ๆ ไปก็จะเหี่ยวทั้งต้น และจะพบว่าท่อน้ำและท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล ซึ่งการผิดปกติของท่ออาหารจะลงไปถึงส่วนรากด้วย

ปัญหาโรคพืชที่มากับหน้าฝน ไม่ใช่เรื่องเล็กเลยใช่ไหมคะ เพราะเชื้อราระบาดได้ง่ายและระบาดเร็วมาก และ เชื้อราจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อพืช ถ้าเราไม่รีบป้องกันและแก้ปัญหากับโรคที่มากับหน้าฝนพืชของเราก็จะตาย

สนใจผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคพืชที่มากับหน้าฝน <<คลิก>>

อ่านบทความ เรื่อง 5 โรคพืชที่ระบาดในหน้าฝน พร้อมวิธีรักษาง่ายๆ

สนใจอ่านบทความ เรื่อง การใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนกับข้าว <<คลิก>>